วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม

ถาม  การรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมจะต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาหรือไม่อย่างไรบ้าง? 
ตอบ  การรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมต้องได้รับความยินยอมจากบิดาและมารดาของผู้เยาว์  กรณีบิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งตาย  หรือถูกถอนอำนาจปกครองต้องได้รับความยินยอมจากบิดาหรือมารดาซึ่งยังมีอำนาจปกครองอยู่  หากไม่มีบิดามารดาผู้ให้ความยินยอม  หรือมีแต่บิดาหรือมารดาไม่ให้ความยินยอมโดยไม่มีเหตุผล  ขัดต่อความเจริญหรือเป็นปฏิปักษ์ต่อสุขภาพของผู้เยาว์  จะต้องมีคำสั่งศาลอนุญาตให้มีการรับบุตรบุญธรรม
ถาม   ผู้เยาว์ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมต้องให้ความยินยอมด้วยในการรับบุตรบุญธรรมหรือไม่?
ตอบ  สำหรับตัวผู้เยาว์ที่มีอายุต่ำกว่า  ๑๕  ปีไม่ต้องให้ความยินยอมในการรับบุตรบุญธรรม  เหตุเพราะยังไม่รู้เดียงสาบิดามารดาสามารถที่จะตัดสินใจแทนได้  แต่ถ้าหากผู้เยาว์อายุ  ๑๕  ปีแล้ว  ผู้เยาว์นั้นจะต้องให้ความยินยอมด้วยตนเอง
ถาม  การรับผู้เยาว์ที่เป็นผู้ถูกทอดทิ้งเป็นบุตรบุญธรรม  และอยู่ในความดูแลของสถานสงเคราะห์ของทางราชการต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาหรือไม่?
ตอบ  กรณีผู้เยาว์เป็นเด็กกำพร้าถูกทอดทิ้งอยู่ในความดูแลของสถานสงเคราะห์เด็กของทางราชการ  ผู้อำนวยการสถานสงเคราะห์เด็กมีอำนาจให้ความยินยอมในการรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมได้  โดยไม่จำต้องให้บิดามารดาของผู้เยาว์มาให้ความยินยอม
ถาม ผู้เยาว์จะเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลหลายคนได้หรือไม่?
ตอบ  ผู้เยาว์จะเป็นบุตรบุญบุญธรรมของบุคคลอื่นในขณะเดียวกันไม่ได้  เว้นแต่จะเป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม   
ถาม    ผู้รับบุตรบุญธรรมที่มีคู่สมรสต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสในการรับบุตรบุญธรรมหรือไม่อย่างไร?
ตอบ  ผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม  ถ้ามีคู่สมรสก็จะต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสด้วย  หากคู่สมรสไม่อาจให้ความยินยอมได้ต้องร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งอนุญาตแทน
ถาม  การรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมต้องมีการทดลองเลี้ยงหรือไม่?
ตอบ  การรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมจะต้องมีการทดลองเลี้ยงเป็นเวลาไม่น้อยกว่า    เดือน  เว้นแต่ผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมเป็นทวด  ปู่ ย่า  ตา  ยาย  ลุง  ป้า น้า  อา  พี่  หรือผู้ปกครองผู้เยาว์  หากผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมได้รับอนุมัติให้รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมแล้ว  ต้องไปจะทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมที่ผู้ขอมีภูมิลำเนาอยู่ภายใน  6  เดือน  มิฉะนั้นถือว่าสละสิทธิ์  ตามพ.ร.บ.  การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น