วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

              การคุ้มครองผู้บริโภคในด้านการโฆษณา
              
              การโฆษณาจะต้องไม่ใช้ข้อความที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค  หรือใช้ข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม ทั้งนี้ไม่ว่าข้อความดังกล่าวนั้นจะเป็นข้อความที่เกี่ยวกับแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพหรือลักษณะของสินค้าหรือบริการ ตลอดจนการส่งมอบ การจัดหา หรือการใช้สินค้าหรือบริการก็ตาม
              ส่วนข้อความที่ถือว่าเป็นข้อความที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค  หรือเป็นข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวมนั้นก็ได้แก่ข้อความต่อไปนี้ครับ
              (๑) ข้อความที่เป็นเท็จหรือเกินความจริง
              (๒) ข้อความที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการไม่ว่าจะกระทำโดยใช้หรืออ้างอิงรายงานทางวิชาการสถิติ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอันไม่เป็นความจริงหรือเกินความจริง หรือไม่ก็ตาม
              (๓) ข้อความที่เป็นการสนับสนุนโดยตรงหรือโดยอ้อมให้มีการกระทำผิดกฎหมายหรือศีลธรรม หรือนำไปสู่ความเสื่อมเสียในวัฒนธรรมของชาติ
              (๔) ข้อความที่จะทำให้เกิดความแตกแยกหรือเสื่อมเสียความสามัคคีในหมู่ประชาชน
              (๕) ข้อความอย่างอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
              อนึ่ง  ข้อความที่ใช้ในการโฆษณาที่บุคคลทั่วไปสามารถรู้ได้ว่า  เป็นข้อความที่ไม่อาจเป็นความจริงได้โดยแน่แท้ ไม่เป็นข้อความที่ต้องห้ามในการโฆษณาตาม (๑)  ครับ
"การขอตั้งผู้จัดการมรดก"

          กฎหมายบอกว่า  การตั้งผู้จัดการมรดกนั้นจะต้องมีเหตุที่จะร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้  ซึ่งเหตุที่ว่ามานี้ก็มีอยู่หลายประการด้วยกัน
          ประการแรก  เมื่อเจ้ามรดกตาย  ทายาทโดยธรรม  หรือผู้รับพินัยกรรมได้สูยหายไป  หรืออยู่นอกราชอาณาจักร  หรือเป็นผู้เยาว์
          ประการที่สอง  เมื่อผู้จัดการมรดก  หรือทายาทไม่สามารถ  หรือไม่เต็มใจที่จะจัดการ  หรือมีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดก  หรือในการแบ่งปันมรดก
          ประการที่สาม  เมื่อข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกไว้  ไม่มีผลบังคับได้ด้วยประการใดๆ
         
          ส่วนผู้ที่จะร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกได้นั้นก็ได้แก่บุคคลดังต่อไปนี้  คือ
          ๑)  ทายาท 
          ๒)  ผู้มีส่วนได้เสีย 
          ๓)  พนักงานอัยการ 
          อนึ่ง  หากเป็นกรณีการตั้งผู้จัดการมรดกตามข้อกำหนดในพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งตามข้อกำหนดนั้น  ถ้าไม่มีข้อกำหนดไว้ในพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดก  โดยคำนึงถึงเจตนาของเจ้ามรดกครับ


"วิธีแบ่งมรดก"

ประการแรก
- ทายาทต่างเข้าครอบครองทรัพย์มรดกเป็นสัดส่วน
ประการที่สอง
- ขายทรัพย์มรดกแล้วเอาเงินที่ขายได้มาแบ่งปันกัน
ประการที่สาม
- ทำสัญญาแบ่งทรัพย์มรดกเป็นหนังสือ
ประการที่สี่
-  ถ้าทายาทตกลังกันไม่ได้ต้องให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาดครับพี่น้อง!!!!!!!
"วิธีแบ่งทรัพย์สินระหว่างเจ้าของรวม"

ประการแรก แบ่งทรัพย์สินโดยเจ้าของรวมตกลงกันเองหรือ
ประการที่สอง ตกลงขายทรัพย์สินแล้วเอาเงินมาแบ่งกัน
ประการที่สาม หากตกลงกันไม่ได้ต้องให้ศาลชี้ขาด และศาลอาจสั่งดังนี้

๑) ให้เอาทรัพย์สินนั้นออกแบ่งหรือ
๒) ให้ขายโดยประมูลราคากันเองระหว่างเจ้าของรวม หรือขายทอดตลาดก็ได้ครับ!!!!!!!!!!!